วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การชูรอ

หลักการว่าด้วยการชูรอ

ความหมาย ชูรอ
ทางภาษา : มาจากคำว่า ชาวารอ ( شور ) การเสนอตัว การแนะนำ การเป็น เป้าหมายเชิงปฏิบัติ

         ชูรอ  คือ การเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยที่มีการตรวจสอบพิจารณาโดยนักคิด ผู้เชี่ยวชาญ จนกระทั่งค้นพบความจริง หรือทัศนะที่สูงสุดและถูกต้องสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการนั้น مجلس الشورى คือ สภาชูรอ /สำนักชูรอ


สถานภาพของสภาชูรอ/ ฮุกุ่ม
อัลลอฮ ซุบฮานาฮุวา ตะอาลา ทรงตรัสไว้ดังนี้

ความว่า : และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย   (อาละ-อิมรอน : 159)

ความว่า : และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา (อัช-ชูรอ :38)

      ซุ เราะฮฺ  อัช-ชูรอ ถูกขนานนามเช่นนี้  เพื่อเป็นการชี้แนะถึงสถานะของการปรึกษาหารือในอิสลาม และเป็นการสั่งสอนให้บรรดามุอฺมินผู้ศรัทธาให้ดำเนินชีวิตของพวกเขาอยู่บน แนวทางที่ดีเด่น และสมบรูณ์ยิ่ง คือ “แนวทางแห่งการปรึกษาหารือ (อัชชูรอ)” เพราะเป็นแนวทางที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าในการดำเนินชีวิตของบุคคลและสังคม

      คำปรึกษาหรือคำแนะนำ จะต้องทำขึ้นโดยผ่านสภาชูรอ

      ฮาดีสท่านนบีได้กล่าวใว้ว่า  :

الدين النصيحة قلنا لمن؟ قال لله ولكتابه ولرسوله ولأئمة المسلمين وعامتهم

      ความว่า : ศาสนา คือ คำตักเตือน เหล่าศอฮาบะฮฺจึงถามว่า สำหรับใครหรือ โอ้ท่านรอซูล? สำหรับอัลลอฮฺ คัมภีร์ของพระองค์ และผู้นำประชาชาติมุสลิมและสำหรับคนทั่วไป

ما خاب من استخار ولا وند من استشار

      ความว่า :ผู้ที่ละหมาดอิซติฆอเราะฮฺนั้นจะไม่เคยประสบกับความผิดหวังและ จะไม่มีความรู้สึกเสียดายสำหรับผู้ที่มีการประชุมหารือกัน
        เพราะฉะนั้น การดำเนินงานของสภาชูรอนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา  และสภาชูรอเป็นที่อ้างอิงของหน่วยงานทุกลำดับขั้น นับตั้งแต่ ผู้นำรัฐจนถึงบุคคล  ทั่วไป

ความสำคัญของสภาชูรอ

1.เป็นสัญลักษณ์ของเสียงส่วนมาก/ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

2.รู้สึกรับผิดชอบร่วมกันในความสำเร็จและในข้อผิดพลาด

3.สร้างความเป็นเอกภาพที่เกิดมาจากการมีส่วนร่วม

4.รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของอิสลาม  ถ้าได้ปฏิบัติตามอัลกุรอานและอัซซุนะฮฺ

5.เป็นการกระจายภาระหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างทั่งถึง

6.สามรถตักตวงสิ่งดีๆ  หรือจุดเด่นของแต่ละคนเพื่อความเป็นเลิศในกิจการต่างๆ

7.ฝึกฝนภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

8.เพิ่มพูนประสบการณ์และนำมาซึ่งการฝึกฝนการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

9.ความเป็นศิริมงคล(บารอกัต)และวิทยะปัญญา(ฮิกมะฮฺ)ในกิจการต่างๆ


หน้าที่ของสภาชูรอที่สำคัญ
1.ปฏิบัติตามแนวนโยบายตามอัลกุรอานและซุนนะฮฺที่ได้กำหนดไว้

2.เผชิญกับปัญหาที่ไม่ชัดเจนในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ (ใช้หลักอิจญ์ติฮาด)

 อัลลอฮ ซุบฮานาฮุวา ตะอาลา ทรงตรัสไว้ซึ่งมีใจความว่า

         : ผู้ ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังรอซูลเถิด และ ผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งในเรื่องใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและรอซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่ง และเป็นการกลับไป ที่สวยงามยิ่ง (อันนิซาอฺ :59)

3.หน้าที่ในการคัดเลือกผู้นำที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺ


วิธีการและสมาชิกชูรอ
อิส ลามมิได้มีการบังคับถึงวิธีการหรือรูปแบบการชูรอที่ตายตัว อันจะนำมาซึ่ง ความยุ่งยากในการปฏิบัติ แต่จะขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมที่เกิดขึ้นในเรื่องนั้น หรือ       ในช่วงเวลานั้น

คุณสมบัติของสมาชิกสภาชูรอ
1.มีความยุติธรรม ถ่อมตนและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

2.มีความรอบรู้ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะทางด้านศาสนาทั้งฟัรดูอีนและกีฟายะฮฺ

3.มีความปราดเปรื่อง มีมุมมองที่ชัดเจนและหลักแหลม สามารถคัดเลือกเคาะลีฟะฮฺ

4.ประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพที่กว้างขวาง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคนิคหรือวิธีการร่วมสมัย


บทเรียนหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับชูรอ
1.อิสลามเป็นวิถีชีวิตที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย

2.หลักการชูรอได้เปิดประตูแห่งการมีส่วนร่วมของประชาติอย่างชัดเจน

อ้างอิงจาก
วิทยานิพนธฺ รายงานในห้วข้อ ทฤษฏีทางการเมืองในอิสลาม
ชื่อผู้เขียนรายงาน สุวิทย์ หมาดอะดำ , ฮาสบุลเลาะห์ ซาแมยี
สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (วิชาโท รัฐศาสตร์)
ปีการศึกษา ๒๕๔๙
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาจาก บะนาตุลหุดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น