วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาวะผู้นำในมุมมองของอิสลาม

ภาวะผู้นำทางการศึกษาในมุมมองของอิสลาม
                    จากการอ่านบทความของคุณยูซุฟ  นิมะ   ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาคาร  อำเภอหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา  ได้เขียนเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการศึกษา ในมุมมองของอิสลาม ลงในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ปีที่10 ฉบับที่ 2 ได้ความรู้ดีมากจึงขอนำมาเผยแพร่ต่อโดย จะหยิบยกมาในประเด็นที่เป็นภาวะผู้นำในมุมมองของอิสลามดังนี้
                1 ในอิสลามภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกกิจการ  ศาสดามูฮัมมัด(ศอลฯ) ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อมีจำนวนสมาชิก  3  คนในการเดินทาง ควรแต่งตั้งบุคคลหนึ่งในหมู่พวกเขาเป็นผู้นำ” ผู้นำที่มีคุณภาพมักจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในองค์การ ดังนั้นผู้นำนอกจากต้องรับผิดชอบต่อองค์การโดยรวมแล้วยังต้องเป็นผู้ให้ บริการทั้งต่อองค์กรและสมาชิก ความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักบริหารคุณภาพทั่วทั้ง องการ(Total Quality Management) ซึ่งศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวว่า “ผู้นำคือผู้รับใช้ประชาชน” (Jabnoun  2548,อ้างถึงในนิเลาะ  แวอุเซ็ง,2548)
             ทั้งนี้ผู้เขียนได้รวบรวมคำจำกัดความคำว่า ภาวะผู้นำ จากหนังสือต่าง ๆ ไว้หลายข้อซึ่งพอสรุปได้ว่าภาวะผู้นำ  หมายถึงกระบวนการที่มีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ตามได้ปฏิบัติการให้ องค์การนั้นๆ  ประสบความสำเร็จ
2 ภาวะผู้นำในอิสลาม คือความเชื่อใจ  เป็นการเสนอข้อผูกมัดทางกายภาพ ระหว่างผู้นำและผู้ตามของเขา  ซึ่งเขาจะต้องปฏิบัติอย่างดีทีสุดในการชี้นำพวกเขา ปกป้องพวกเขาและไปสู่เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ในวิถีทางที่เชื่อฟังเชื่อมั่นและเคารพต่อกัน(Yakan 1998:76)
ในอิสลามถือว่าแบบอย่างของผู้นำที่ดีที่สุด  มาจากศาสดามูฮัมมัด  (ศอลฯ) ดังได้มีนักคิดนักวิชาการหลายคนได้พยายามจัดลำดับว่าในบรรดาผู้นำที่มี อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกนั้นมีใครบ้าง และ ใครควรจัดอยู่ในลำดับที่เท่าไรและใครควรที่จะถูกจัดไว้ลำดับแรกในจำนวนมหา บุรุษทั้งหมด   นิตยสารรายสัปดาห์ Time ฉบับวันที่ 15กรกฎาคม 1974 หน้า  32-33ได้ตีพิมพ์ บทความเรื่อง
Who Were History’s Great Leader?    (ใครคือ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์?) ของนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อจูนส์  มาสเซอร์แมน (June  Masserman) ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการคัดเลือกไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่  3  ประการต่อไปนี้ให้สำเร็จ นั่นคือ
1)               สร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง
2)               สร้างระเบียบสังคมให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3)               สร้างระบบความเชื่อให้แก่สังคม
หลังจากกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินว่า ใครคือสุดยอดผู้นำมหาบุรุษโลก ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว
นายจูลส์  มาสเซอร์แมน  ก็ได้แสดงความคิดเห็น โดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้นเป็นพื้นฐาน
ในการพิจารณาว่า “คนอย่างหลุยส์  ปาสเตอร์และซอล์ก เป็นผู้นำในข้อแรก  ส่วนคนอย่างคานธีและขงจื้อ ในด้านหนึ่งและคนอย่างอเลกซานเดอร์ ซีซา่ร์และฮิตเลอร์ในอีกด้านเป็นผู้ในข้อที่สองและในข้อสาม สำหรับพระเยซูและพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นผุ้นำในข้อที่สมาเท่านั้น แต่คนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลก็คือมูฮัมมัดผู้ที่ทำหน้าที่ครบ ทั้งสามข้อ  ถึงแม้โมเสสจะทำได้เหมือนกันแต่ก็ยังน้อยกว่า
หลังจากนั้นอีก  4 ปีคือในค.ศ. 1978 ก็มีหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ   The 100-A Ranking of  The  Most  Influential  Persons in  Histotory(100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์)  ซึ่งเขียนโดย  ไมเคิล เอช.ฮาร์ท  (Michael H. Hart)
นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือ ที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในสมัยนั้น หนังสือเล่มนี้ได้จัดอันดับไว้  100  อันดับแต่ในที่นี้จะยกมาเพียง 20 อันดับคือ
1  ) นบีมูฮัมมัด                   2)  ไอแซค นิวตัน               3)พระเยซูคริสต์                  4 )  พระพุทธเจ้า
5 )  ขงจื้อ                         6)   เซนต์      ปอล              7)ไซหลุน                        8) โยฮาน กเต็นเบิรก
9)   คริสโตเฟอร์  ลัมบัส  10  อัลเบิร์ต ไอสไตน์       11 ) คาร์ล มาร์กซ             12หลุยส์ ปาสเตอร์
13 กาลิเลโอ                       14อริสโตเติล                   15  เลนิน                          16 ) โมเสส
17 ชาร์ล ดาวิน                   18)  ซีหวังตี                      19 ออกัสตัสซีซ่าร์           20 เหมาเจ๋อตุง
   ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล แสดงความคิดเห็นข้อพิจรณาเขากล่าวถึงนบีมูฮัมมัด ว่า
1)  ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกนบีมูฮัมมัดเป็นอันดับ  1   เพราะท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้าน ศาสนา       และด้านโลกวัตถุ
2)ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์  ฯลฯ
3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลามฯลฯ (หน้า 39-40)
4)ผู้นำทางโลกและศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ อัลกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษยชาติ ฯลฯ(หน้า 40)
5)  บุคคลเดียวที่ที่มีอิธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์การพิชิตอาหรับ......มีบทบาท สำคัญเรื่อยมาจนปัจจุบัน........  “การรวมตัวกันของทางโลกกับศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้ ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมูฮัมมัดสมควรเป็นผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ” (หน้า 40)
          ความจริงการที่ศาสดามูอัมมัด(ศอลฯ) แต่งตั้งผู้นำที่มีคุณสมบัติต่างกันในช่วงเวลาและสถานการณ์ที่ต่างกันได้ สนับสนุนคำกล่าวที่ว่า  ประสิทธิภาพของผู้นำขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ระหว่างผู้นำ  ผู้ตาม และสถานการณ์ สิ่งดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จในสถานการณ์และกลุ่มบุคคล หนึ่งอาจไม่สำเร็จในสถานการณ์หนึ่งเฉพาะและกลุ่มบุคคลหนึ่ง   ผู้นำต้องป็นคนมีทักษะและความซื่อสัตย์ หมายถึงผู้นำต้องมีความแข็งแรงและศรัทธา คุณลักษณะข้างต้นปรากฏในอัลกุรอานดังนี้
“แท้จริงผู้ที่ท่านควรจ้างเขาไว้ คือผู้ที่แข็งแรงและซื่อสัตย์(อัลกอฮฺศอศ 28:26)
         เญาซัด  ซาอิด(Jawdat  Saed)  ได้อธิบายไว้ในหนังสือของเขาชื่อ  งานคือทักษะและเจตจำนง(The work is skill and awill) ว่าผู้นำที่อ่อนแอจะเป็นภัยต่อองค์การในขณะที่ผู้นำที่มีทักษะจะเป็น ประโยชน์ต่อองค์การความจริงผู้นำไม่มีอำนาจสูงสุดเพราะอิสลามให้ความสำคัญ กับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและการตรวจสอบสมดุลแห่งอำนาจ(นิเลาะ แวอุเซ็ง,2548)
          ผู้นำในมุมมองของศาสนาอิสลาม
                         ผู้นำที่ดีตามคำนิยามของเดมมิ่ง “ผู้นำที่ดีคอผู้ที่สามารถสร้างภาวะผู้นำให้เกิดแก่ผู้อื่นรับฟังประชาชน และให้อภัยต่อความผิดของเขาเหล่านั้น”  จะพบว่า  ศาสดามูฮัมมัด(ศอลฯ)ได้ปฏิบัติต่อผู้นำทั้งหลายในหมู่ซอฮาบะฮ์(เพื่อน ๆของท่าน) โดยการรับฟังพวกเขา ร่วมปรึกษาในเรื่องสำคัญ
รวมทั้งการมอบอำนาจให้แก่พวกเขา  ท่านนบีเป็นผู้ที่อ่อนโยนและให้อภัยดังที่ปรากฏในอัลกุรอาน
          “เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮนั่นเองเจ้า(มูฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา(ผู้ศรัทธา) และหากเจ้าประพฤติหยาบช้า แล้วมีใจแข็งกระด้างแล้วไซ้รแน่นอนพวกเขาก็จะแยกออกไปรอบ ๆเจ้ากันแล้ว  จงให้อภัยแก่พวกเขาเถิด และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจกรรมทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว จงมอบหมายต่ออัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มอบหมายทั้งหลาย”
(อัลอิมรอน,3:159)
               ผู้นำต้องเป็นต้นแบบ บทบาทของเขาแสดงให้เห็นประจักษ์มากกว่าคำพูดมีความรับผิดชอบในการสร้างและ บำรุงวัฒนธรรมองค์การ หากคำพูดผู้นำขัดแย้งกับการกระทำในไม่ช้า เขาจะสูญเสียศักยภาพที่จะใช้ในการนำของเขา การสอนของอิสลามได้ตำหนิผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำพูดดังอัลลอฮ์ตรัสไว้ “โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ย ทำไมพวกเจ้ากล้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ เป็นที่น่าเกลียดยิ่ง ณ ที่อัลลอฮ์
การที่พวกเจ้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ”(อัศศ็อฟ,61:2-3)
  ภาวะผู้นำทางการศึกษา
               ภาวะผู้นำทางการศึกษากับผู้บริหารทางการศึกษาจะต้องเหมือนกัน หมายความว่า ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีภาวะผู้นำนั้นเอง  การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่จะต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/wair/374261

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น