วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เชิญชวนให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว

พี่น้องผู้ร่วมละหมาดญุมอัตที่เคารพทั้งหลาย
ก่อนอื่นก็ขอความสันติสุขจงมีแด่พวกเราทุกคนและขอให้เราทุกคนจงตักวาต่ออัล ลอฮฺ(ซุบหานะฮูวะตะอาลา) เพื่อว่าพวกเราทุกคนจะได้รับความสำเร็จทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

( وَاتَّقُوا اللَّهَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ) (سورة آل عمران: من الآية 200)

ความว่า พวกเจ้าจงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิดเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ(ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ)
พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทั้งหลาย
เมื่อเราพิจารณาสภาพสังคมที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง หรือสังคมชนบท จะเห็นได้ว่าการกระทำความดีค่อนข้างลดน้อยลง ในทางกลับกันสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ชั่วนับวันก็เพิ่มมากขึ้นและขยายออกไป เรื่อยๆ จนกระทั่งบางสิ่งบางอย่างมันเลวร้ายจนเรานึกไม่ถึง อาทิเช่น มีเยาวชนมุสลิมบางคนถือขวดเหล้าอย่างเปิดเผย อย่างโจ่งแจ้งในที่สาธารณะ บางคนกระทำผิดซินาเหมือนกับว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว การเสพและค้าขายสิ่งเสพติด การลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ตลอดจนอาชญากรรมต่างๆอีกหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตักเตือนซึ่งกันและกัน เพื่อให้สิ่งที่ดีๆตามหลักการอิสลามได้รับการปฏิบัติ และสิ่งที่ไม่ดีต่างๆจะต้องถูกปฏิเสธและสลายหายไปจากสังคมในที่สุด อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับประโยชน์ของการตักเตือนนี้ในอัลกุรอานว่า


(وَذَكِّرْ فَإِنَّ الذِّكْرَى تَنْفَعُ الْمُؤْمِنِينَ)
(سورة الذاريات: 55)

ความว่า และจงมีการตักเตือนเถิด แท้จริงการตักเตือนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย
พี่น้องผู้เกียรติทุกท่าน
การเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วนั้นเป็นภาระหน้าที่ของ มวลมนุษย์ทั้งหลายที่จะต้องมีมาตรการในการสอดส่องดูแลและส่งเสริมในสิ่งที่ ดี ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมมิให้สิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆเกิดขึ้น มาตรการดังกล่าวจึงถือว่ามีความสำคัญมากในการที่จะทำให้สังคมหรือชุมชนมี ความน่าอยู่ น่าอาศัย และมีแต่ความสงบสุข
อิสลามมีมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ กล่าวคือได้มีการกำหนดหุกมของการเชิญชวนการทำความดีและห้ามปรามการทำความ ชั่วนั้นออกเป็นสองหุกม ดังนี้
หุกม ที่หนึ่ง เป็นฟัรฏูกิฟายะฮฺ หมายความว่าเป็นการมอบภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบในภาพรวม กล่าวคือในเมืองหนึ่ง ตำบลหนึ่ง หรือชุมชนหนึ่ง ถ้าหากมีคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคอยทำหน้าที่เชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำ ความชั่วแล้ว คนอื่นๆที่เหลือก็ถือว่าพ้นภาระไปด้วย แต่ถ้าหากไม่มีผู้ใดทำหน้าที่ดังกล่าวนี้เลย ก็จะมีผลทำให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของชุมชนนั้น จะต้องรับบาปทั้งหมด ดังที่อัลลอฮฺ (สุบฮาฯ)ได้ตรัสว่า

(وَلْتَكُنْ مِنْكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ) (سورة آل عمران: 104)

ความว่า และจงให้มีขึ้นในหมู่พวกเจ้าซึ่งบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่เชิญชวนไปสู่ สิ่งที่ดี และคอยใช้ให้กระทำความดีและคอยห้ามปรามการกระทำความชั่ว และชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่ได้รับความสำเร็จ
หุกม ที่สอง เป็นฟัรฏูอีน ซึ่งเป็นกรณีของผู้ที่ประสบพบเห็นการกระทำที่ไม่ดี และไม่มีผู้ใดสามารถห้ามปรามได้ นอกจากเขาเท่านั้น กรณีนี้ก็ถือว่าวาญิบสำหรับเขาที่จะต้องห้ามปรามตามความสามารถของเขาที่จะทำ ได้
พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน
ความสำคัญของการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วตามทัศนะของอิสลามนั้น นับว่ายิ่งใหญ่มาก ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(كُنْتُمْ خَيْرَ أُمَّةٍ أُخْرِجَتْ لِلنَّاسِ تَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَتَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَتُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَلَوْ آمَنَ أَهْلُ الْكِتَابِ لَكَانَ خَيْراً لَهُمْ مِنْهُمُ الْمُؤْمِنُونَ وَأَكْثَرُهُمُ الْفَاسِقُونَ) (سورة آل عمران: 110)

ความว่า พวกเจ้าทั้งหลายเป็นประชาชาติที่ดียิ่ง ซึ่งถูกให้บังเกิดขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าต้องใช้ให้พวกเขาปฏิบัติในสิ่งที่ดี และห้ามปรามพวกเขามิให้ทำในสิ่งที่ชั่ว และพวกเจ้าก็ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
ใน อายะฮฺนี้จะเห็นได้ว่า อัลลอฮฺ (สุบฮาฯ) ได้กล่าวถึงการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วก่อนการ ศรัทธา ในขณะที่การศรัทธาต่อพระองค์นั้นถือเป็นรากฐานของศาสนาอิสลาม แต่พระองค์ก็ทรงยกให้การเชิญชวนการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วขึ้นมา ก่อนเป็นลำดับแรก นอกจากนี้พระองค ์ยังตรัสอีกว่า

(وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَيُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ أُولَئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ) (سورة التوبة: 71)

ความว่า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงนั้น พวกเขาต่างก็เป็นผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีและห้ามปรามในสิ่งที่ชั่ว และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ พวกเขาเหล่านี้แหละอัลลอฮฺจะทรงเมตตา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุาพและทรงปรีชาญาณ
ใน อายะฮฺนี้นี้อัลลอฮฺ (สุบฮาฯ) ได้กล่าวถึงการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วก่อน การละหมาด ในขณะที่การละหมาดเป็นเสาหลักของศาสนาอิสลาม อีกทั้งในประโยคสุดท้ายของอายะฮฺนี้ พระองค์ทรงชี้แจงอีกว่า “พวกเขาเหล่านี้แหละอัลลอฮฺจะทรงเมตตา” อันหมายถึงผู้ที่ใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีและห้ามปรามในสิ่งที่ชั่ว ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจ่ายซะกาต อีกทั้งจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์” ดังนั้นผู้ที่จะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ จะต้องมีลักษณะตามที่ได้กล่าวมา
จากอายะฮฺทั้งสองข้างต้นนั้น การที่อัลลอฮฺได้จัดลำดับการเชิญชวนการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว ก่อนการศรัทธาและการละหมาดนั้น ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งของการเชิญชวนให้มี การทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว อันจะนำมาซึ่งความดีงามในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายต่างก็ปรารถนาที่จะให้เกิดในขณะที่ความชั่ว ร้ายทั้งหลายก็จะสูญสลายไป
พี่น้องผู้รักการทำความดีทุกท่าน
ตัวอย่างที่เราสามารถหยิบยกมาเป็นอุธาหรณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ของการเพิกเฉย หรือ ละเลย ต่อหน้าที่ดังกล่าว ก็ดังเช่นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบะนีอิสรออีล ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(لُعِنَ الَّذِينَ كَفَرُوا مِنْ بَنِي إِسْرائيلَ عَلَى لِسَانِ دَاوُدَ وَعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ ذَلِكَ بِمَا عَصَوْا وَكَانُوا يَعْتَدُونَ ، كَانُوا لا يَتَنَاهَوْنَ عَنْ مُنْكَرٍ فَعَلُوهُ لَبِئْسَ مَا كَانُوا يَفْعَلُونَ) (سورة المائدة: 78-79)

ความว่า บรรดาผู้ที่ปฏิเสธการศรัทธาในหมู่วงศ์วานอิสรออีลนั้นได้ถูกสาปแช่งโดยถ้อย คำของดาวูดและอีซาบุตรของมัรยัม นั่นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืนและที่พวกเขาเคยละเมิดกัน ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งที่ชั่วที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริงๆสิ่งที่พวกเขากระทำ
จาก อายะฮฺข้างต้นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในยุคของท่านนบีดาวูดและอี ซา(อะลัยฮิมัสสะลาม) ซึ่งพวกบะนีอิสรออีล บางกลุ่มได้กระทำในสิ่งที่ไม่ดีในขณะที่กลุ่มอื่นๆที่เหลือไม่มีการห้ามปราม แต่อย่างใด อันเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาถูกสาปแช่งจากอัลลอฮฺและเราะซูลทั้งสองของพระองค์
แต่ในขณะที่ประชาชาติอีกส่วนหนึ่งของบะนีอิสรออีลได้จงรักภักดีต่ออัลลอฮฺ และเชื่อฟังบรรดาเราะซูลของพวกเขา และพวกเขาก็ได้ทำหน้าที่ในการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความ ชั่ว ซึ่งทำให้พวกเขาได้รับคำชมเชยจากอัลลอฮฺซึ่งเราสามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

(لَيْسُوا سَوَاءً مِنْ أَهْلِ الْكِتَابِ أُمَّةٌ قَائِمَةٌ يَتْلُونَ آيَاتِ اللَّهِ آنَاءَ اللَّيْلِ وَهُمْ يَسْجُدُونَ، يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَيُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَأُولَئِكَ مِنَ الصَّالِحِينَ) (سورة آل عمران:113-114)

ความว่า พวกเขาหาใช่เหมือนกันไม่ จากบรรดาชาวคัมภีร์นั้น มีกลุ่มชนหนึ่งที่เที่ยงธรรมซึ่งพวกเขาอ่านบรรดาโองการของอัลลอฮฺในยามค่ำ คืน และพร้อมกันนั้นพวกเขาก็สุญูดกัน พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันอาคิเราะฮฺ อีกทั้งพวกเขาก็มีเชิญชวนในการกระทำความดีและห้ามการกระทำความชั่ว และพวกเขาต่างรีบเร่งในการทำแต่สิ่งที่ดีงาม และกลุ่มชนเหล่านี้แหละเป็นผู้ที่ประพฤติดี
พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน
การห้ามปรามการทำชั่วนั้นจะมีระดับตามความสามารถของแต่ละบุคคล ตามที่ท่านนบีได้กล่าวว่า

«من رأى منكم منكراً فليغيره بيده ، فإن لم يستطع فبلسانه ، فإن لم يستطع فبقلبه ، وذلك أضعف الإيمان»

ความว่า ผู้ใดก็ตามที่พบเห็นการกระทำที่ไม่ดี ก็ขอให้เขาจงห้ามปรามด้วยมือของเขา ถ้าหากเขาไม่มีความสามารถก็ขอให้เขาจงห้ามปรามด้วยคำพูด และถ้าหากเขาไม่มีความสามารถอีก ก็ขอให้เขาห้ามปรามด้วยใจของเขา และการห้ามในลักษณะนี้คือผู้ที่อีมานอ่อนแอที่สุด
จากหะดีษบทนี้สามารถเข้าใจได้ว่าการห้ามปรามการทำชั่วนั้นมี 3 ระดับด้วยกันคือ
หนึ่ง ระดับของผู้ที่อำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครองบ้านเมือง ผู้บริหารองค์กร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง บุคคลเหล่านี้มีความสามารถที่จะห้ามปรามด้วยการใช้กำลังหรืออำนาจหน้าที่ อันชอบธรรม เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับท่านลุกมานในการสอนลูกของท่านว่า

(يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَاصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ) (سورة لقمان: 17)

ความว่า โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงใช้ให้กระทำความดีและจงห้ามปรามการกระทำ ความชั่ว และจงอดทนกับสิ่งที่เจ้าประสบ (ความยากลำบาก)
สอง ระดับของอุละมาอ์ ครูบาอาจารย์ หรือบรรดาผู้ที่มีความรู้ทั้งหลาย ซึ่งอาจจะรวมถึงพวกเราทุกคนที่อยู่ ณ ที่นี้ด้วย บุคคลเหล่านี้ถือว่ามีความสามารถที่จะห้ามปรามด้วยคำพูดได้ ในการที่จะชี้แจงถึงผลเสียและโทษของการทำความชั่ว และการใช้คำพูดนี้ก็ต้องมีหิกมะฮฺ มีวิทยปัญญาหรือจิตวิทยาในการที่จะสั่งสอนหรือห้ามปรามผู้ที่กระทำความชั่ว ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ ) (سورة النحل: من الآية 125)

ความว่า เจ้าจงเชิญชวนสู่แนวทางของอัลลอฮฺด้วยวิทยปัญญาและการตักเตือนที่ดีและจงตอบ โต้พวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า(คือด้วยความอ่อนโยนและสุภาพ)
สาม ระดับของบุคคลทั่วไป ซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่มีอำนาจที่จะห้ามปรามด้วยมือและไม่มีความรู้ที่จะไป สั่งไปสอนเขาด้วยคำพูด ก็ขอให้เขาห้ามด้วยใจ คือการรังเกียจ ไม่เห็นชอบ และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย และการห้ามด้วยใจนั้น ท่านนบีถือว่าเป็นบุคคลที่มีอีมานอ่อนแอที่สุด (และเป็นการห้ามที่ทุกคนสามารถกระทำได้ ถ้าหากบุคคลใดไม่กระทำ นั่นย่อมแสดงว่าเขาไม่มีอีมานอยู่เลย – บก.)
พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผลตอบแทนของผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความ ชั่วนั้น อัลลอฮฺได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะได้รับความเมตตาจากพระองค์และพวกเขา จะประสบกับความสำเร็จตามอายะฮฺที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นอัลลอฮฺจะทรงตอบรับดุอาของพวกเขาและประทานความช่วยเหลือให้แก่พวก เขาอีกด้วย ดังหะดีษกุดซีย์ที่ท่านนบีได้กล่าวว่า

«أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : يقول الله عزوجل : مروا بالمعروف وانهوا عن المنكر قبل أن تدعوني فلا أستجيب لكم وقبل أن تسألوني فلا أعطيكم وقبل أن تستنصروني فلا أنصركم»

ความว่า ท่านนบีได้กล่าวว่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงใช้ให้มีการทำความดีและจงห้ามปราการทำความชั่ว ก่อนที่พวกเจ้าจะขอดุอาต่อข้าแล้วข้าก็จะไม่ตอบรับ ก่อนที่พวกเจ้าจะร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากข้าแล้วข้าก็จะปฏิเสธ และก่อนที่พวกเจ้าจะให้ข้าช่วยเหลือพวกเจ้าแล้วข้าก็จะไม่ช่วย
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเหตุใดดุอาของเราอัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับ และเหตุใดพระองค์ไม่ทรงประทานความช่วยเหลือให้แก่เรา เป็นไปได้ว่าเรายังมิได้ทำหน้าที่ดังกล่าวดีพอ
ดังนั้นพี่น้องครับ มาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ในการที่จะสร้างสรรค์สังคมของเราให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ สังคมที่มีแต่ความสงบสุข ได้โปรดอย่านิ่งเฉยเป็นอันขาด ใครมีความสามารถทำได้แค่ไหนก็ทำแค่นั้น เท่าที่สามารถที่จะทำได้ แล้วในที่สุดเราก็จะได้รับในสิ่งที่อัลลอฮฺได้สัญญาไว้ให้กับเรานั่นก็คือ พระองค์จะทรงช่วยเหลือพวกเราและจะตอบรับคำดุอาของพวกเรา ตราบใดที่พวกเราทุกคนต่างเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว.

بارك الله لي ولكم في القرآن العظيم ونفعني وإياكم بما فيه من الآيات والذكر الحكيم وتقبل مني ومنكم تلاوته إنه هو السميع العليم.

ชุด คุฏบะฮฺญุมอัต ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดย อัสมัน แตอาลี อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วอศ. มอ.ปัตตานี

การชูรอ

หลักการว่าด้วยการชูรอ

ความหมาย ชูรอ
ทางภาษา : มาจากคำว่า ชาวารอ ( شور ) การเสนอตัว การแนะนำ การเป็น เป้าหมายเชิงปฏิบัติ

         ชูรอ  คือ การเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยที่มีการตรวจสอบพิจารณาโดยนักคิด ผู้เชี่ยวชาญ จนกระทั่งค้นพบความจริง หรือทัศนะที่สูงสุดและถูกต้องสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการนั้น مجلس الشورى คือ สภาชูรอ /สำนักชูรอ


สถานภาพของสภาชูรอ/ ฮุกุ่ม
อัลลอฮ ซุบฮานาฮุวา ตะอาลา ทรงตรัสไว้ดังนี้

ความว่า : และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย   (อาละ-อิมรอน : 159)

ความว่า : และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา (อัช-ชูรอ :38)

      ซุ เราะฮฺ  อัช-ชูรอ ถูกขนานนามเช่นนี้  เพื่อเป็นการชี้แนะถึงสถานะของการปรึกษาหารือในอิสลาม และเป็นการสั่งสอนให้บรรดามุอฺมินผู้ศรัทธาให้ดำเนินชีวิตของพวกเขาอยู่บน แนวทางที่ดีเด่น และสมบรูณ์ยิ่ง คือ “แนวทางแห่งการปรึกษาหารือ (อัชชูรอ)” เพราะเป็นแนวทางที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าในการดำเนินชีวิตของบุคคลและสังคม

      คำปรึกษาหรือคำแนะนำ จะต้องทำขึ้นโดยผ่านสภาชูรอ

      ฮาดีสท่านนบีได้กล่าวใว้ว่า  :

الدين النصيحة قلنا لمن؟ قال لله ولكتابه ولرسوله ولأئمة المسلمين وعامتهم

      ความว่า : ศาสนา คือ คำตักเตือน เหล่าศอฮาบะฮฺจึงถามว่า สำหรับใครหรือ โอ้ท่านรอซูล? สำหรับอัลลอฮฺ คัมภีร์ของพระองค์ และผู้นำประชาชาติมุสลิมและสำหรับคนทั่วไป

ما خاب من استخار ولا وند من استشار

      ความว่า :ผู้ที่ละหมาดอิซติฆอเราะฮฺนั้นจะไม่เคยประสบกับความผิดหวังและ จะไม่มีความรู้สึกเสียดายสำหรับผู้ที่มีการประชุมหารือกัน
        เพราะฉะนั้น การดำเนินงานของสภาชูรอนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา  และสภาชูรอเป็นที่อ้างอิงของหน่วยงานทุกลำดับขั้น นับตั้งแต่ ผู้นำรัฐจนถึงบุคคล  ทั่วไป

ความสำคัญของสภาชูรอ

1.เป็นสัญลักษณ์ของเสียงส่วนมาก/ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

2.รู้สึกรับผิดชอบร่วมกันในความสำเร็จและในข้อผิดพลาด

3.สร้างความเป็นเอกภาพที่เกิดมาจากการมีส่วนร่วม

4.รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของอิสลาม  ถ้าได้ปฏิบัติตามอัลกุรอานและอัซซุนะฮฺ

5.เป็นการกระจายภาระหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างทั่งถึง

6.สามรถตักตวงสิ่งดีๆ  หรือจุดเด่นของแต่ละคนเพื่อความเป็นเลิศในกิจการต่างๆ

7.ฝึกฝนภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

8.เพิ่มพูนประสบการณ์และนำมาซึ่งการฝึกฝนการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

9.ความเป็นศิริมงคล(บารอกัต)และวิทยะปัญญา(ฮิกมะฮฺ)ในกิจการต่างๆ


หน้าที่ของสภาชูรอที่สำคัญ
1.ปฏิบัติตามแนวนโยบายตามอัลกุรอานและซุนนะฮฺที่ได้กำหนดไว้

2.เผชิญกับปัญหาที่ไม่ชัดเจนในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ (ใช้หลักอิจญ์ติฮาด)

 อัลลอฮ ซุบฮานาฮุวา ตะอาลา ทรงตรัสไว้ซึ่งมีใจความว่า

         : ผู้ ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังรอซูลเถิด และ ผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งในเรื่องใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและรอซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่ง และเป็นการกลับไป ที่สวยงามยิ่ง (อันนิซาอฺ :59)

3.หน้าที่ในการคัดเลือกผู้นำที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺ


วิธีการและสมาชิกชูรอ
อิส ลามมิได้มีการบังคับถึงวิธีการหรือรูปแบบการชูรอที่ตายตัว อันจะนำมาซึ่ง ความยุ่งยากในการปฏิบัติ แต่จะขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมที่เกิดขึ้นในเรื่องนั้น หรือ       ในช่วงเวลานั้น

คุณสมบัติของสมาชิกสภาชูรอ
1.มีความยุติธรรม ถ่อมตนและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

2.มีความรอบรู้ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะทางด้านศาสนาทั้งฟัรดูอีนและกีฟายะฮฺ

3.มีความปราดเปรื่อง มีมุมมองที่ชัดเจนและหลักแหลม สามารถคัดเลือกเคาะลีฟะฮฺ

4.ประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพที่กว้างขวาง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคนิคหรือวิธีการร่วมสมัย


บทเรียนหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับชูรอ
1.อิสลามเป็นวิถีชีวิตที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย

2.หลักการชูรอได้เปิดประตูแห่งการมีส่วนร่วมของประชาติอย่างชัดเจน

อ้างอิงจาก
วิทยานิพนธฺ รายงานในห้วข้อ ทฤษฏีทางการเมืองในอิสลาม
ชื่อผู้เขียนรายงาน สุวิทย์ หมาดอะดำ , ฮาสบุลเลาะห์ ซาแมยี
สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (วิชาโท รัฐศาสตร์)
ปีการศึกษา ๒๕๔๙
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาจาก บะนาตุลหุดา

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มุมมองในอิสลามกรฌีแอนนี่กับฟิล์ม

ในทัศนะอิสลาม ถือว่าบุคคลใดก็ตามไม่ว่าชายหรือหญิงหากทำซินา (ละเมิดประเวณี) ถือว่าเป็นคนชั่วช้า ไม่ว่าบุคคลจะเป็นใครทั้งสิ้น

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَالزَّانِيَةُ لَا يَنْكِحُهَا إِلَّا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ

"และหญิงที่ทำซินาจะไม่มีใครแต่งงานกับนาง นอกจากชายที่ทำซินา หรือชายมุชริก และดังกล่าวนั้น (การทำซินา) เป็นที่ต้องห้ามแก่บรรดาผู้ศรัทธา" (สูเราะฮฺอันนูรฺ อายะฮฺที่ 3)

ฉะนั้นสังคมของเราอย่าหลงประเด็น ใครก็ตามที่ทำซินาไม่ว่าหญิงหรือชาย ถือว่าเป็นคนชั่วทั้งสิ้น ไม่ว่าเขาจะรูปหล่อ มีชื่อเสียง หรือเป็นคนร่ำรวยก็ตาม ส่วนประเด็นที่จะรับผิดชอบเลี้ยงดูลูก จะรับว่าเป็นพ่อหรือไม่นั้นเป็นประเด็นหลัง แต่ประเด็นแรก สังคมต้องประณามคนทำซินา เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างแต่บุคคลอื่นๆ อีก

อีกทั้ง หากใช้กฎหมายอิสลาม มุสลิมที่ทำซินาแต่ยังไม่ได้แต่งงานวาญิบต้องถูกเฆี่ยน 100 ที แต่ถ้ามีสามีหรือภรรยาอยู่แล้วเกิดทำซินา เช่นนี้ฝังครึ่งตัวแล้วขว้างจนตายนั่นเอง

ประการสุดท้าย ชายที่ทำซินา ก็คู่ควรกับหญิงที่ทำซินาเท่านั้นนะครับ. والله أعلم


ที่มา : www.Mureed.com

ภาวะผู้นำในมุมมองของอิสลาม

ภาวะผู้นำทางการศึกษาในมุมมองของอิสลาม
                    จากการอ่านบทความของคุณยูซุฟ  นิมะ   ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาคาร  อำเภอหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา  ได้เขียนเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการศึกษา ในมุมมองของอิสลาม ลงในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ปีที่10 ฉบับที่ 2 ได้ความรู้ดีมากจึงขอนำมาเผยแพร่ต่อโดย จะหยิบยกมาในประเด็นที่เป็นภาวะผู้นำในมุมมองของอิสลามดังนี้
                1 ในอิสลามภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกกิจการ  ศาสดามูฮัมมัด(ศอลฯ) ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อมีจำนวนสมาชิก  3  คนในการเดินทาง ควรแต่งตั้งบุคคลหนึ่งในหมู่พวกเขาเป็นผู้นำ” ผู้นำที่มีคุณภาพมักจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในองค์การ ดังนั้นผู้นำนอกจากต้องรับผิดชอบต่อองค์การโดยรวมแล้วยังต้องเป็นผู้ให้ บริการทั้งต่อองค์กรและสมาชิก ความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักบริหารคุณภาพทั่วทั้ง องการ(Total Quality Management) ซึ่งศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวว่า “ผู้นำคือผู้รับใช้ประชาชน” (Jabnoun  2548,อ้างถึงในนิเลาะ  แวอุเซ็ง,2548)
             ทั้งนี้ผู้เขียนได้รวบรวมคำจำกัดความคำว่า ภาวะผู้นำ จากหนังสือต่าง ๆ ไว้หลายข้อซึ่งพอสรุปได้ว่าภาวะผู้นำ  หมายถึงกระบวนการที่มีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ตามได้ปฏิบัติการให้ องค์การนั้นๆ  ประสบความสำเร็จ
2 ภาวะผู้นำในอิสลาม คือความเชื่อใจ  เป็นการเสนอข้อผูกมัดทางกายภาพ ระหว่างผู้นำและผู้ตามของเขา  ซึ่งเขาจะต้องปฏิบัติอย่างดีทีสุดในการชี้นำพวกเขา ปกป้องพวกเขาและไปสู่เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ในวิถีทางที่เชื่อฟังเชื่อมั่นและเคารพต่อกัน(Yakan 1998:76)
ในอิสลามถือว่าแบบอย่างของผู้นำที่ดีที่สุด  มาจากศาสดามูฮัมมัด  (ศอลฯ) ดังได้มีนักคิดนักวิชาการหลายคนได้พยายามจัดลำดับว่าในบรรดาผู้นำที่มี อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกนั้นมีใครบ้าง และ ใครควรจัดอยู่ในลำดับที่เท่าไรและใครควรที่จะถูกจัดไว้ลำดับแรกในจำนวนมหา บุรุษทั้งหมด   นิตยสารรายสัปดาห์ Time ฉบับวันที่ 15กรกฎาคม 1974 หน้า  32-33ได้ตีพิมพ์ บทความเรื่อง
Who Were History’s Great Leader?    (ใครคือ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์?) ของนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อจูนส์  มาสเซอร์แมน (June  Masserman) ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการคัดเลือกไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่  3  ประการต่อไปนี้ให้สำเร็จ นั่นคือ
1)               สร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง
2)               สร้างระเบียบสังคมให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3)               สร้างระบบความเชื่อให้แก่สังคม
หลังจากกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินว่า ใครคือสุดยอดผู้นำมหาบุรุษโลก ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว
นายจูลส์  มาสเซอร์แมน  ก็ได้แสดงความคิดเห็น โดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้นเป็นพื้นฐาน
ในการพิจารณาว่า “คนอย่างหลุยส์  ปาสเตอร์และซอล์ก เป็นผู้นำในข้อแรก  ส่วนคนอย่างคานธีและขงจื้อ ในด้านหนึ่งและคนอย่างอเลกซานเดอร์ ซีซา่ร์และฮิตเลอร์ในอีกด้านเป็นผู้ในข้อที่สองและในข้อสาม สำหรับพระเยซูและพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นผุ้นำในข้อที่สมาเท่านั้น แต่คนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลก็คือมูฮัมมัดผู้ที่ทำหน้าที่ครบ ทั้งสามข้อ  ถึงแม้โมเสสจะทำได้เหมือนกันแต่ก็ยังน้อยกว่า
หลังจากนั้นอีก  4 ปีคือในค.ศ. 1978 ก็มีหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ   The 100-A Ranking of  The  Most  Influential  Persons in  Histotory(100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์)  ซึ่งเขียนโดย  ไมเคิล เอช.ฮาร์ท  (Michael H. Hart)
นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือ ที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในสมัยนั้น หนังสือเล่มนี้ได้จัดอันดับไว้  100  อันดับแต่ในที่นี้จะยกมาเพียง 20 อันดับคือ
1  ) นบีมูฮัมมัด                   2)  ไอแซค นิวตัน               3)พระเยซูคริสต์                  4 )  พระพุทธเจ้า
5 )  ขงจื้อ                         6)   เซนต์      ปอล              7)ไซหลุน                        8) โยฮาน กเต็นเบิรก
9)   คริสโตเฟอร์  ลัมบัส  10  อัลเบิร์ต ไอสไตน์       11 ) คาร์ล มาร์กซ             12หลุยส์ ปาสเตอร์
13 กาลิเลโอ                       14อริสโตเติล                   15  เลนิน                          16 ) โมเสส
17 ชาร์ล ดาวิน                   18)  ซีหวังตี                      19 ออกัสตัสซีซ่าร์           20 เหมาเจ๋อตุง
   ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล แสดงความคิดเห็นข้อพิจรณาเขากล่าวถึงนบีมูฮัมมัด ว่า
1)  ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกนบีมูฮัมมัดเป็นอันดับ  1   เพราะท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้าน ศาสนา       และด้านโลกวัตถุ
2)ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์  ฯลฯ
3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลามฯลฯ (หน้า 39-40)
4)ผู้นำทางโลกและศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ อัลกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษยชาติ ฯลฯ(หน้า 40)
5)  บุคคลเดียวที่ที่มีอิธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์การพิชิตอาหรับ......มีบทบาท สำคัญเรื่อยมาจนปัจจุบัน........  “การรวมตัวกันของทางโลกกับศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้ ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมูฮัมมัดสมควรเป็นผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ” (หน้า 40)
          ความจริงการที่ศาสดามูอัมมัด(ศอลฯ) แต่งตั้งผู้นำที่มีคุณสมบัติต่างกันในช่วงเวลาและสถานการณ์ที่ต่างกันได้ สนับสนุนคำกล่าวที่ว่า  ประสิทธิภาพของผู้นำขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ระหว่างผู้นำ  ผู้ตาม และสถานการณ์ สิ่งดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จในสถานการณ์และกลุ่มบุคคล หนึ่งอาจไม่สำเร็จในสถานการณ์หนึ่งเฉพาะและกลุ่มบุคคลหนึ่ง   ผู้นำต้องป็นคนมีทักษะและความซื่อสัตย์ หมายถึงผู้นำต้องมีความแข็งแรงและศรัทธา คุณลักษณะข้างต้นปรากฏในอัลกุรอานดังนี้
“แท้จริงผู้ที่ท่านควรจ้างเขาไว้ คือผู้ที่แข็งแรงและซื่อสัตย์(อัลกอฮฺศอศ 28:26)
         เญาซัด  ซาอิด(Jawdat  Saed)  ได้อธิบายไว้ในหนังสือของเขาชื่อ  งานคือทักษะและเจตจำนง(The work is skill and awill) ว่าผู้นำที่อ่อนแอจะเป็นภัยต่อองค์การในขณะที่ผู้นำที่มีทักษะจะเป็น ประโยชน์ต่อองค์การความจริงผู้นำไม่มีอำนาจสูงสุดเพราะอิสลามให้ความสำคัญ กับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและการตรวจสอบสมดุลแห่งอำนาจ(นิเลาะ แวอุเซ็ง,2548)
          ผู้นำในมุมมองของศาสนาอิสลาม
                         ผู้นำที่ดีตามคำนิยามของเดมมิ่ง “ผู้นำที่ดีคอผู้ที่สามารถสร้างภาวะผู้นำให้เกิดแก่ผู้อื่นรับฟังประชาชน และให้อภัยต่อความผิดของเขาเหล่านั้น”  จะพบว่า  ศาสดามูฮัมมัด(ศอลฯ)ได้ปฏิบัติต่อผู้นำทั้งหลายในหมู่ซอฮาบะฮ์(เพื่อน ๆของท่าน) โดยการรับฟังพวกเขา ร่วมปรึกษาในเรื่องสำคัญ
รวมทั้งการมอบอำนาจให้แก่พวกเขา  ท่านนบีเป็นผู้ที่อ่อนโยนและให้อภัยดังที่ปรากฏในอัลกุรอาน
          “เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮนั่นเองเจ้า(มูฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา(ผู้ศรัทธา) และหากเจ้าประพฤติหยาบช้า แล้วมีใจแข็งกระด้างแล้วไซ้รแน่นอนพวกเขาก็จะแยกออกไปรอบ ๆเจ้ากันแล้ว  จงให้อภัยแก่พวกเขาเถิด และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจกรรมทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว จงมอบหมายต่ออัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มอบหมายทั้งหลาย”
(อัลอิมรอน,3:159)
               ผู้นำต้องเป็นต้นแบบ บทบาทของเขาแสดงให้เห็นประจักษ์มากกว่าคำพูดมีความรับผิดชอบในการสร้างและ บำรุงวัฒนธรรมองค์การ หากคำพูดผู้นำขัดแย้งกับการกระทำในไม่ช้า เขาจะสูญเสียศักยภาพที่จะใช้ในการนำของเขา การสอนของอิสลามได้ตำหนิผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำพูดดังอัลลอฮ์ตรัสไว้ “โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ย ทำไมพวกเจ้ากล้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ เป็นที่น่าเกลียดยิ่ง ณ ที่อัลลอฮ์
การที่พวกเจ้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ”(อัศศ็อฟ,61:2-3)
  ภาวะผู้นำทางการศึกษา
               ภาวะผู้นำทางการศึกษากับผู้บริหารทางการศึกษาจะต้องเหมือนกัน หมายความว่า ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีภาวะผู้นำนั้นเอง  การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่จะต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/wair/374261